วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิของฉัน


                                                                                


1.ความเป็นมาของวิทยาลัย
1.1 ประวัติ
    วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เป็นสถานบัน อุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมใน
ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีคุณธรรม มีคุณภาพและทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์โดย
เฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยและประเทศไทย วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางด้าน
ความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติตนสู่ความสุข)
ควบคู่กันไปทั้งสามด้านเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานบันอุดมศึกษาแห่งนี้ เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ในด้าน
คุณภาพแห่งชีวิต จากเหตุดังกล่าว ข้างต้น ผู้บริหารและคณาจารย์ ในกลุ่มโรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ ซึ่งมีทั้ง
หมด 6 โรงเรียนประกอบด้วย ดังนี้
1. โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ
2. โรงเรียนโปลีเทคนิคระยอง
3. โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ
4. โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจกาญจนบุรี
5. โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ
6. โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ ชลบุรี
ผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนข้างต้นนี้ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาและและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติ จึงพร้อมกันจัดตั้งวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาขึ้นในเขต ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยเปิดดำเนินการสอนเมื่อปีพุทธศักราช 2549 ในคณะบริหารธุรกิจ เป็นคณะแรก
     ที่ตั้งของวิทยาลัย
เลขที่ 489 หมู่ 2 ถนนประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
โทรศัพท์: 02-172 9623-26 Fax 02-172  9620   

    เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายการบริหารจัดการ วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ จึงกำหนด ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และพันธกิจ  เพื่อการดำเนินงานของวิทยาลัย ดังนี้
1.2 ปรัชญา บัณฑิตของวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิจะมีคุณสมบัติเด่น 3ประการในการดำเนินชีวิต
    คุณธรรม:ประพฤติตนอยู่ในกรอบของศีลธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบ อดทน ซื่อสัตย์กตัญญู และ
          ทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์
    ปัญญา :มีความรู้จริง ปฏิบัติได้ ชอบแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต พัฒนาตนให้ทันต่อสภาพการณ์ 
          ประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ อย่างต่อเนื่อง
    ความสุข:ประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อดำเนินชีวิต ได้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานของผู้มีคุณธรรม มีความรับผิด
          ชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมประเทศชาติ
1.3  ปณิธาน
พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม มีความสุข รักความเป็นไทย
1.4  วิสัยทัศน์
  วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมีความมุ่งมั่นในการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา โดยมี ทีมงาน ผู้บริหารมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ทางด้านการจัดการทางการศึกษามีอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง รักงานด้านการศึกษามีความก้าวหน้าในหน้าที่ ทั้งยังมีความพร้อมในด้าน สื่อการเรียน การสอน ตลอดทั้งอุปกรณ์และเทคโนโลยี การบริหารจัดการที่ดี บุคลากรมีส่วนร่วม โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ พร้อมที่จะผลิตบัณฑิตที่ดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ สามารถทำงานสนองความต้องการของหน่วยงานงานได้ หรือสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวได้อย่างมีคุณภาพ
1.5  วัตถุประสงค์
1.เพื่อผลิตบัณฑิต ให้มีความรู้และทักษะที่ดีในสาขาที่ตนถนัด ใส่ใจเพิ่มเติมความรู้ให้ทันสมัย
2.เพื่อศึกษา วิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาการศึกษาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
3.เพื่อเป็นศูนย์วิชาการ และให้บริการงานวิชาการแก่สังคม
4.เพื่อส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5.เพื่อฝึกอบรมให้บัณฑิตมีคุณธรรม เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ด้วยความพอเพียง มีน้ำใจ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
6.เพื่อให้นักศึกษา มีความกตัญญูต่อบุพการี ผู้มีพระคุณและรู้คุณแผ่นดิน
1.6  เครื่องหมาย สี และต้นไม้ประจำวิทยาลัยเครื่องหมายของวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ หมายถึง สถานบันการศึกษาอันตรงคุณค่าบนแผ่นดินทอง
1.7  เครื่องหมายประจำวิทยาลัย ประกอบด้วย
     เกลียวเชือก หมายถึง  ความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทรต่อกันฉันท์พี่น้อง
     ดวงอาทิตย์  หมายถึง แสงแห่งความสดใส เจริญรุ่งเรือง เกียรติยศ ศักดิ์ศรี และชื่อเสียงของสถาบัน 
     หนังสือ    หมายถึง  แหล่งความรู้
     ตรีอัยวิทย์  หมายถึง  พลังจักรวาล ความเจริญก้าวหน้าบนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1.8 สีประจำวิทยาลัย
    สีแดง  หมายถึง  ความเป็นชาติ ความเจริญและตระหนักถึงบุญคุณแห่งแผ่นดิน
    สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ โปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นหลักนำในชีวิต
    สีทอง  หมายถึง  ยึดมั่นในสถานบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่ เคารพรักยิ่งของประชาชนชาวไทย
1.9 สีประจำคณะ
คณะบริหารธุรกิจ คือ สีฟ้า
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ สีเหลือง
1.10 ต้นไม้ประจำวิทยาลัย
คือ ต้นกัลปพฤกษ์ ชื่อสามัญPink Cassia Shower เป็นต้นไม้ยืนต้นซึ่งเป็นไม้พื้น ถิ่นของไทย ลำต้นสีเทา อมน้ำตาล ดอกออกเป็นช่อตามกิ่ง สีชมพูเข้ม และจะเปลี่ยนเป็นสีขาว ก่อนโรย ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์- มีนาคม เป็นไม้ศิริมงคล บ่งบอกถึง ความมีคุณธรรม ความสงบ และสดชื่นแห่งชีวิต





การเรียน ป.บัณฑิต

เนื้อหาการเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตร
1. โครงสร้างหลักสูตร 24 หน่วยกิต (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู)**
1.1 วิชาบรรยาย (Course Work) 24 หน่วยกิต
2. โครงสร้างหลักสูตร 30 หน่วยกิต (สำหรับผู้ไม่ประกอบวิชาชีพครู)**
2.1 วิชาบรรยาย (Course Work) 24 หน่วยกิต
2.2 ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 24 หน่วยกิต
1. ระยะเวลาในการศึกษษตลอดหลักสูตร 10 เดือน
2. เรียนวันอาทิตย์ 08.00-18.00 น.
3. ค่าเล่าเรียนตอลดหลักสูตร 25,000 บาท
4. ได้รับเอกสารประกอบการเรียน
5. ศึกษาดูงาน (ถ้ามีไม่รวมค่าใช้จ่ายในค่าเล่าเรียน)
6.    คณาจารย์ผู้สอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีตำแหน่งวิชาการ ศ. รศ. ผศ. ดร. ทุกท่าน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนที่วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
     1. ได้รับความรู้  แนวคิดจากรายวิชาต่างๆ และสามารถนำวิธีการสอน เทคนิคการสอนไปใช้ในห้องเรียนจริงๆ
             2.     ได้ฝึกประสบการณ์สอนในสถานศึกษาจริง
             3.     ได้รู้จักกับเพื่อน พี่ และน้อง ที่น่ารักมากๆ
             4.     ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม   การช่วยเหลือกันและกัน 
             5.     หลังจากเรียนจบได้ใบประกอบวิชาชีพ   สามารถประกอบอาชีพครูได้
             

           

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หรือ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism)




             เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ อีกทฤษฎีหนึ่ง ตามความเห็นของ อลัน ชอว์ (Alan Shaw) กล่าวว่า เคยคิดว่า ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ การศึกษาเรียนรู้ แต่ความจริง มีมากกว่า การเรียนรู้ เพราะสามารถนำไปใช้ใน สภาวะการเรียนรู้ ในสังคม ได้ด้วย ชอว์ ทำการศึกษา เรื่องรูปแบบ และ ทฤษฎีการเรียนรู้ และพัฒนา เขาเชื่อว่า ในระบบการศึกษา มีความสำคัญต่อเนื่องไป ถึง ระบบโครงสร้างของสังคม เด็กที่ได้รับ การสอนด้วย วิธีให้อย่างเดียว หรือ แบบเดียว จะเสียโอกาส ในการพัฒนาด้านอื่น เช่นเดียวกับสังคม ถ้าหากมีรูปแบบ แบบเดียว ก็จะเสียโอกาส ที่จะมีโครงสร้าง หรือพัฒนา ไปในด้านอื่น ๆ เช่นกัน
     ชอว์ ได้ให้ความหมาย ของคำว่า คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม ในรูปแบบของพัฒนาการ ของ สังคมและจิตวิทยา ว่าเป็นแนวคิด หรือ ความเข้าใจ ที่เป็น คอนสตรัคทิวิซึ่ม (Constructivism) คือ รูปแบบที่ผู้เรียนเป็น ผู้สร้างความรู้ ไม่ใช่เป็น ผู้รับอย่างเดียว ดังนั้นผู้เรียน ก็คือ ผู้สอนนั่นเอง แต่ใน ระบบการศึกษาทุกวันนี้ รูปแบบโครงสร้าง จะตรงกันข้ามกับ ความคิดดังกล่าว โดยครูเป็น ผู้หยิบยื่นความรู้ให้ แล้วกำหนดให้ นักเรียนเป็นผู้รับความรู้นั้น
     อย่างไรก็ตาม คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีแตกต่างจาก คอน-สตรัคทิวิซึ่ม ตรงที่ ทฤษฎีคอนสตรัคทิวิซึ่ม คือ ทฤษฎีที่กล่าวว่า ความรู้เกิดขึ้น สร้างขึ้นโดยผู้เรียน ไม่ใช่เป็นการให้จากผู้สอนหรือครู ในขณะที่ คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีความหมาย กว้างกว่านี้ คือ พัฒนาการของเด็ก ในการเรียนรู้ มีมากกว่า การกระทำ หรือ กิจกรรม เท่านั้น แต่รวมถึง ปฏิกิริยาระหว่างความรู้ ในตัวเด็กเอง ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อม ภายนอก หมายความว่า เด็กสามารถเก็บข้อมูล จากสิ่งแวดล้อมภายนอก และเก็บเข้าไป สร้าง เป็นโครงสร้าง ของความรู้ภายใน สมองของตัวเอง ขณะเดียวกัน ก็สามารถเอา ความรู้ภายใน ที่เด็กมีอยู่แล้ว แสดงออกมา ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม ภายนอกได้ ซึ่งจะเกิดเป็น วงจรต่อไป เรื่อย ๆ คือ เด็กจะเรียนรู้เองจาก ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอก แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ กลับเข้าไปในสมอง ผสมผสานกับความรู้ภายในที่มีอยู่ แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
ดังนั้น ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม จึงให้ความสำคัญ กับโอกาสและ วัสดุที่จะใช้ใน การเรียนการสอน ที่เด็กสามารถนำไปสร้างความรู้ ให้เกิดขึ้นภายใน ตัวเด็ก เองได้ ไม่ใช่ซึ่งไม่ใช่วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจธรรมชาติ ของกระบวนการเรียนรู้ ที่เด็กกำลัง เรียนรู้อยู่ และช่วยเสริมสร้าง กระบวนการ เรียนรู้ นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้น ตามธรรมชาติของเด็ก แต่ละคน ครูควรคิดค้น พัฒนาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่าจะให้โอกาสแก่ผู้เรียน อย่างไรจึงจะให้ ผู้เรียนสามารถ สร้างความรู้ขึ้นเองได้ ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ เราก็จะหาทางพัฒนา และสร้าง วัสดุอุปกรณ์ ประกอบการเรียน การสอนใหม่ ๆ หรือหาวิธีที่ จะใช้อุปกรณ์การเรียน การสอน ที่มีอยู่ให้เป็น ประโยชน์ด้วย วิธีการเรียนแบบใหม่ คือ การสร้างให้ผู้เรียน สร้างโครงสร้างของ ความรู้ขึ้นเอง
     
     ชอง เปียเจต์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิสผู้มีชื่อเสียงมาก มีความคิดเห็นว่าเด็ก ๆ ไม่ใช่ท่อที่ว่างเปล่า ที่ผู้ใหญ่จะเทข้อมูล และความรู้ต่าง ๆ เข้าไป เด็กคือผู้สร้างความฉลาดและการเรียนรู้ของเขาเอง จะเห็นว่าเด็กเป็นผู้มีความสามารถ มีพรสวรรค์ที่จะเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เด็กเริ่มเรียนรู้ จากประสบการณ์ในโลกนี้ ตั้งแต่แรกคลอดและมีสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียนด้วยซ้ำ ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า เปียเจต์เลิร์นนิ่ง (Piagetian Learning) คือ การเรียนรู้โดยไม่ต้องได้รับการสอน เช่น เด็กพูดได้โดยไม่ต้องจับมานั่งสอน หรือเด็กสามารถเรียนรู้ รูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม หรือเรียนรู้วิธีต่อรองกับพ่อแม่โดยไม่ต้องรับการสอน เป็นต้น
     ทฤษฎีขั้นตอนการ มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา วอลลิส (Wallis) ได้แบ่ง ขั้นตอนการมี ความคิดสร้างสรรค์ ในการแก้ปัญหา ออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ระยะแรก เป็นช่วงเตรียมพร้อม (Preparation) เป็นช่วงค้นหาว่าปัญหาคืออะไร ขั้นตอนนี้ใช้สมองข้างซ้ายทำงานขั้นตอนต่อไป เป็นช่วงคิดวิเคราะห์ปัญหา (Incubation) เป็นช่วงเวลาที่เราตั้งหลักคิดปัญหาที่พบในขั้นแรกว่าเป็นปัญหาจริงหรือไม่ และจะแก้ปัญหาอย่างไร ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลานานนับนาที หรือเป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ บางครั้งอาจเป็นปี ซึ่งขั้นตอนนี้ ใช้สมองข้างขวาทำงานขั้นตอนต่อไป เป็นช่วงเกิดความคิดที่จะแก้ปัญหา (Illumination) ความคิดในการแก้ปัญหา จะเกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงเวลาสั้น ๆ อาจแค่ไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง ขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับสมองข้างขวาขั้นตอนสุดท้าย คือ ปฏิบัติการแก้ปัญหา (Varification) เป็นช่วงที่จะเกิดผลปฏิบัติ หรือกิจกรรมแก้ปัญหา ที่ต่อเนื่องมาจากการคิดวิเคราะห์ปัญหาแล้ว และถอยหลังไปตั้งหลักคำนึงถึงปัญหาและวิธีแก้ไข ขั้นตอนนี้จะกลับไปใช้สมองข้างซ้ายนอกจากนี้ โรเจอร์ วอน โอช์ (Roger von Oech) ได้เสนอทฤษฎีการเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา โดยแบ่งขั้นตอนออกเป็น 7 ขั้นตอนด้วยกัน
          เริ่มจากขั้นแรกมีความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา (Motivation)
          ขั้นตอนที่ 2 ค้นหาข้อมูลโดยมองออกไปในวงกว้างและหาข้อมูลต่าง ๆ เข้ามา
          ขั้นตอนที่ 3 เป็นการเก็บข้อมูลมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง (Manipulation) อาจมีการแก้ไขหรือกำจัดข้อสมมติฐานเก่า ๆ แล้วสร้างความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมา
          ขั้นตอนที่ 4 เป็นช่วงของการวิเคราะห์ปัญหา (Incubation) เป็นช่วงที่เดินออกมาจากปัญหา มาตั้งหลักคิดวิเคราะห์ปัญหาและมองลึกไปหลาย ๆ ด้าน การที่ไม่แก้ปัญหาในทันทีจะเป็นผลดี เพราะจะได้พัฒนาความคิดต่าง ๆ สรรหาความคิดที่ดีกว่า
          ขั้นตอนที่ 5 เป็นระยะที่มีความคิดต่าง ๆ ผุดขึ้นมามากมาย (Illumination) แล้วพยายามเก็บข้อมูลหรือ ความคิดเหล่านี้เอาไว้ เพราะฉะนั้นเราไม่ควรใช้เวลาทำงานตลอดทั้งวัน ควรจะมีเวลาที่ใช้ ความคิดสร้างสรรค์ด้วย หลังจากนั้นเป็น ช่วงที่มีการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาแบบสร้างสรรค์
          ขั้นตอนที่ 6 เป็นการต้องตัดสินใจว่าจะเลือกแก้ปัญหาอย่างไร (Evaluation) แม้ว่าความคิดที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม
          ขั้นตอนสุดท้าย คือ การลงมือปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจไว้ (Action)ยังมีทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ต่าง ๆ อีก อย่างเช่น ทฤษฎีของ คาร์ล จุง (Carl Jung) ที่ว่า ต้องมีวิธีการสอน ที่ทำให้คน แต่ละคนไม่ว่า จะมีความสามารถมากน้อยเพียงใดมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้เต็มที่ เต็มความสามารถ เต็มศักยภาพของตน
          
     
สรุป
     ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลากหลายทฤษฎี แต่ทฤษฎีที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม ที่ว่า ความรู้ไม่ใช่การให้ หรือ เทข้อมูลเข้าไปในสมองเด็ก แต่เด็กจะสร้างความรู้ ขึ้นในสมอง ของเขาเอง จาก สิ่งแวดล้อม ภายนอก ดังนั้นครูจึงไม่ใช่ผู้ใส่ความรู้ให้เด็ก แต่จะต้องคอยเป็นผู้ช่วยให้เด็กสร้างความรู้ขึ้นจากตัวของเด็กเอง
     
ที่มา
http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning.htm

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรุปงาน GDT 407 ครั้งที่ 1





การเรียนครั้งที่ 1
1.ทำให้ทราบความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ คือหมายถึง การนำเอาววิธีการใหม่ๆ แนวคิดใหม่ ความรู้ทางวิทยาศาสรต์มาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบในการพัฒนาระบบงาน ทำให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2. องค์ประกอบของเทคโนโลยี ประกอบด้วย 1.)ข้อมูล ที่ใส่เข้าไป 2. )กระบวนการ ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา แจกแจงวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 3.)ผลลัพธ์ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาและทำการประเมินผล

3.ข้อมูล ดิบหมายถึง ข้อมูลที่ยังไม่ผ่านกระบวนการประเมินผล

4. ทำให้ทราบความหมายของคำว่านวัตกรรมทางการศึกษา คือหมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆที่อาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนทีไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฏษฏี เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

5.เรียนรู้ทฎษฏีทางการศึกษา ต่างๆเช่นของธอร์นไดค์ Bloom เป็นต้น

4.ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สมัยแรก ตั้งแต่ตอนเป็นเครื่องใหญ่ๆ จนกลายเป็น netbook ข้อแตกต่างระหว่าง notebook และ netbook (ควรเลือกซื้ออย่างไหนดีกว่ากัน)
5.ทำให้สามารถสมัครอีเมลของ gmail ได้ pcpussadee100@gmail.com
6.สามารถสร้าง blog ของตัวเองได้ โดยสร้างบทความในบล๊อกของตัวเอง
  แล้วเผยแพร่ บทความ  ให้คนอื่นเข้ามาอ่านได้